4 กลโกงสลิปโอนเงินยอดฮิต ที่เจ้าของร้านค้าต้องระวัง!
ยุคนี้ไม่ว่าจะทำธุรกิจแบบไหน ก็หนีการโดนโกงยากจริง ๆ ไม่ใช่แค่ผู้บริโภค ที่กลัวจะถูกพ่อค้าแม่ค้าโกง เพราะเจ้าของร้านค้า และผู้ประกอบการต่าง ๆ ก็กลัวโดนคุณลูกค้าโกงเช่นกัน
เมื่อก่อนการโกงที่เห็นกันบ่อย ๆ อาจจะมาในรูปของแบงค์ปลอม แต่ตอนนี้ที่ธุรกรรมทางการเงินสามารถทำออนไลน์ได้ จากแบงค์ปลอมก็อัปเกรดเป็นสลิปโอนเงินปลอมอย่างรวดเร็ว แถมยังแนบเนียนเอามาก ๆ เสียด้วย จะหนีกลโกงพวกนี้คงยาก แต่ถ้าเรารู้ทันไว้ก่อนว่ากลโกงสมัยนี้มีมาในรูปแบบไหนบ้าง เราก็จะสามารถป้องกันได้มากขึ้นแน่นอน
ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่า กับ 4 กลโกงสลิปโอนเงินยอดฮิต ที่เจ้าของร้านค้าต้องระวัง! จะมีวิธีไหนบ้าง ก็มาระวังไปพร้อม ๆ กันเลย!
1. แจกสลิปปลอมกันแบบโต้ง ๆ
ไม่ต้องมี Tactic อะไรให้วุ่นวายเลย เพราะแค่อาศัยความเร่งรีบและความชุลมุนเข้าหน่อย มุกนี้ก็ใช้ได้ผลกันมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว สถานการณ์ก็ไม่ยากเลย แค่สั่งออเดอร์ แล้วทำทีโชว์สลิปโอนเงินปลอมยืนยัน ให้เหมือนว่าโอนเงินเรียบร้อยแล้ว ร้านส่วนใหญ่อาจจะมีการตรวจเช็กด้วยการให้พนักงานถ่ายรูปสลิปโอนเงินเก็บไว้ แล้วส่งเข้าไลน์กลุ่มให้เจ้าของร้านเช็กยอดให้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันช้าไปในบางที
กลโกงสลิปปลอม
และน่าเสียดายที่ร้านค้าส่วนใหญ่ ไม่ได้มีระบบการตรวจสอบสลิปโอนเงินที่แม่นยำนัก บางที่อาศัยความเร็วและความเชื่อใจ แค่ลูกค้าโชว์ให้ดูก็ปล่อยผ่านไป กลายเป็นช่องโหว่ที่โดนเอาเปรียบได้ง่าย ๆ แม้โอกาสเกิดขึ้นจะไม่ได้เยอะมาก แต่ถ้ามานั่งเช็กดูดี ๆ เจ้าสลิปปลอมก็ทำเอากำไรหายไปได้เหมือนกัน
ทางที่ดีทุกร้านค้าไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ ก็ควรมีระบบเช็กสลิปปลอมที่รวดเร็วและแม่นยำคอยช่วย อย่างตัวของ เช็คสลิป เอง ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ไม่ต้องเสียเวลาตรวจเช็กเลย เพราะแค่ส่งสลิปโอนเงินเข้ามาในไลน์กลุ่ม ตัว Chat bot ก็จะเช็กให้ทันที เร็วกว่านั่งแสกน QR Code หรือรอเช็กกับแจ้งเตือนของธนาคารเยอะเลย แถมยังเบาแรงได้เยอะ!
2. แกล้งโอนผิด แต่คิดเงินทอน
อัปเกรดจากสลิปปลอมเวอร์ชั่นแรกขึ้นมาอีกหน่อย ด้วยการบอกว่าโอนเงินเข้ามาผิดบัญชี หรือโอนถูกบัญชีแล้ว แต่จำนวนเงินที่โอนมาผิด มากกว่าที่ต้องโอนไป XX บาท อันที่จริง แม้ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ ก็สามารถพบเจอการหลอกลวงด้วยวิธีนี้ได้เช่นกัน แต่เหล่าเจ้าของร้านค้าทั้งหลายที่มี Transactions ในบัญชีเยอะ ๆ จะมีสิทธิ์ตกหลุมพรางได้ง่ายกว่า
กลโกง แกล้งโอนผิด
สถานการณ์นี้จะเริ่มจากการติดต่อเข้ามาว่า มีการโอนเงินผิดบัญชี อยากให้ทางร้านโอนเงินคืนมาให้ แล้วแกล้ง ๆ โชว์สลิปโอนเงินปลอมให้ดู หากเป็นร้านที่มียอดเงินเข้าออกเยอะ ๆ แล้วจำนวนเงินและเวลาในสลิปโอนเงิน ดันตรงกับยอดจริงขึ้นมา ก็จะเข้าใจผิดได้ง่าย ๆ แล้วเผลอโอนเงินคืนกลับไป
หากเป็นหน้าร้านออฟไลน์ ก็อาจเจอกรณีที่ทำเป็นว่าโอนเงินมาเกิน แล้วโชว์สลิปโอนเงินปลอมให้ดู เพื่อให้ทางร้านทอนเป็นเงินสดกลับมา พอมาเช็กทีหลังเข้าถึงรู้ว่าโดนหลอก ก็ไม่ทันเอาเสียแล้วล่ะ
3. ตั้งโอนล่วงหน้า แล้วมายกเลิกทีหลัง
อีกหนึ่งวิธีโกงเงินที่เริ่มเห็นเยอะขึ้น ก็คือการทำเหมือนว่าจะโอนเงินจริง ๆ เข้าไปที่บัญชีที่ถูกต้องจริง ๆ แต่ตั้งให้เป็นการโอนเงินล่วงหน้าแทน พอกดยืนยันเสร็จ ก็จะมีสลิปขึ้นมาเหมือนการโอนเงินปกติเลย ถ้าเป็นร้านค้าที่ไม่ได้เช็กอะไรมากมายนัก พอเห็นว่ามีสลิปโอนเงินยืนยันเรียบร้อยแล้ว ก็อาจจะปล่อยผ่านไป แล้วฝ่ายมิจฉาชีพ ก็จะไปยกเลิกการโอนเงินล่วงหน้าที่ตั้งไว้ทีหลัง
กลโกง ตั้งโอนล่วงหน้า
จุดสังเกตของวิธีนี้คือ หัวสลิปโอนเงิน จะขึ้นว่า ‘ตั้งโอนล่วงหน้าสำเร็จ’ ไม่ใช่ชำระเงินสำเร็จ หรือโอนเงินสำเร็จ รวมถึงวันเวลา ที่น่าจะไม่ตรงตามเวลานั้น ๆ ถ้าไม่ได้สังเกตดี ๆ ก็อาจจะหลงเชื่อได้ง่าย ๆ เลย
4. หลอกให้คนอื่นโอนเงินแทน
วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ร้านค้าออนไลน์โดนกันบ่อย เริ่มจากมิจฉาชีพจะนำเอารูปสินค้าของเราไปแอบอ้าง ขายกับผู้อื่น แล้วให้เหยื่อโอนเงินตรงเข้ามาที่บัญชีร้านของเรา เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินเสร็จ ฝ่ายมิจฉาชีพก็จะเอาสลิปโอนเงินที่เหยื่อส่งให้ มาใช้ยืนยันกับฝั่งเรา เพื่อให้เราส่งของให้
กลโกง หลอกโอนเงิน
ฝ่ายมิจฉาชีพที่ได้ของแล้ว ก็จะหายวับไปเลย ส่วนเหยื่อที่รู้ตัวว่าโดนหลอก ก็จะเข้าใจว่าร้านเราเป็นมิจฉาชีพ เพราะเราเป็นเจ้าของบัญชีที่เหยื่อโอนเงินเข้ามานั่นเอง เรียกได้ว่าหลอกสองต่อ ถ้าไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ก็ตามจับตัวยากมาก
กรณีนี้ทางร้านเองก็คงทำอะไรมากไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นเหยื่อที่โดนหลอกไม่ต่างกัน ทำได้แค่เตือนผู้ซื้อให้ระวัง และออกแถลงการณ์ยืนยันความบริสุทธิ์เท่านั้น
กลโกงเหล่านี้ หากเรารู้ทันว่าจะมาทรงไหน มีทริคอย่างไร ก็พอจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้อยู่บ้าง แต่ถ้าร้านค้ามีระบบตรวจเช็กสลิปโอนเงินที่ดีด้วย ก็จะช่วยลดความเสียหายได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกระดับ ร้านค้า คาเฟ่ หรือร้านอาหารร้านไหน กำลังมองหาระบบตรวจเช็กสลิปโอนเงินที่ใช้ง่าย มีความแม่นยำสูง แถมราคาไม่แรงอยู่ ก็ตามมาดู เช็คสลิป แชทบอทตรวจหาสลิปปลอมทางนี้ได้เลย! ทดลองใช้ฟรี คลิก!
3. สายไหลไปเรื่อย
กะเพราหมูของร้านเราเลือกใช้เนื้อหมูสันในที่ดีที่สุด เพื่อเนื้อสัมผัสที่นุ่มละมุน ไม่มีส่วนเอ็นให้คุณลูกค้าต้องรำคาญใจ นอกจากนี้ เรายังเลือกใช้ใบกะเพราจากฟาร์มท็อปสามของประเทศ เพื่อให้ได้คุณภาพกลิ่นหอมในทุก ๆ คำที่เคี้ยว เพราะว่าในท้ายที่สุดแล้ว คนไม่จำเป็นก็ต้องเดินจากไป ถึงแม้ว่าภายในใจจะรักเธอแค่ไหน …
ถ้าใครเคยเจอแคปชั่นแนว ๆ นี้ ที่อ่านแล้วก็ได้แค่ เอ้ะ ยาว ๆ ว่ายังไงนะ นี่เราอ่านอะไรอยู่นะ แต่เชื่อเถอะว่าอะไรแบบนี้ลูกค้าชอบจริง ๆ ประโยคที่ว่า คนไทยเป็นคนตลก คือไม่เกินจริง ยิ่งในสถานการณ์ที่สังคมและเศรษฐกิจตึงเครียดแบบนี้ อะไรขำ ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ใจลูกค้าอย่างไม่น่าเชื่อเลย เทคนิคของสายนี้มีแค่อย่างเดียว คือการไหลไปเรื่อย พูดเรื่องหนึ่งไปโผล่อีกเรื่องหนึ่งแบบงง ๆ แต่ถามว่าขายของได้มั้ย มันก็ขายได้!
เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งสายที่เหมาะกับคนมีอารมณ์ขัน อาจจะไม่ได้เรียกเสียงฮาเท่าสายเล่นตัวเอง แต่ก็ได้ยิ้มมุมปากกันสักหน่อยแหละน่า แคปชั่นสายไหลไปเรื่อย จะเหมาะกับสินค้าที่ไม่ได้ต้องการความจริงจัง หรือความน่าเชื่อถืออะไรมากนัก เช่น ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม หรือจะเป็นแนวร้านหนังสือ ของเล่น เสื้อผ้าอะไรแบบนี้ก็ไม่ติดเลย แต่ถ้าสายเทคโนโลยีอยากจะเล่นบ้าง ก็ยังได้อยู่ แค่อย่าลืมเติมข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ ให้ลูกค้าได้รับรู้ควบคู่ไปด้วยนะ
4. สายเนิร์ดสุดใจ ถามไรตอบได้ ไม่ถามก็ตอบให้!
มาถึงสายสุดท้าย ที่เพิ่งจะมาฮอตฮิตกันไม่ถึงปีเลย นั่นก็คือแคปชั่นสายเนิร์ด สายที่เหมาะสำหรับคนรู้ลึกรู้จริง ชอบทำรีเสิร์ชก่อนขายของ! สาเหตุที่สายนี้กำลังมาแรง ก็เป็นเพราะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ๆ ที่ใส่ใจกับสินค้าที่ต้องการซื้อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของส่วนผสม วัตถุดิบ กรรมวิธี หรือที่มาที่ไปในการพัฒนาสินค้า
ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำการตลาดแบบนี้ ก็มีทั้ง Diamond Grains ที่ตัวเจ้าของแบรนด์อย่างคุณอูน ชอบออกมาเล่าเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ความเป็นมา การเลือกวัตถุดิบ หรือขั้นตอนต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ แทรกด้วยข้อมูลเชิงลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง หรืออย่างร้านอยู่ดีมีสุขข้าวเหนียวมะม่วงของคุณ ‘แม่ครัว’ ในทวิตเตอร์ ที่ชอบออกมาเล่าเกี่ยวกับข้าวเหนียวมะม่วงที่ตัวเองขาย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสายพันธุ์ของข้าวเหนียว รสชาติของมะม่วงแต่ละพันธุ์ กรรมวิธีการทำที่ต้องมีสูตรสำเร็จ เหล่านี้ล้วนเรียกความสนใจของผู้บริโภคได้ทั้งนั้น
ถ้าถามว่าแคปชั่นสายเนิร์ดเหมาะกับสินค้าแบบไหน ก็ต้องบอกว่าได้หมดเลย! อาจจะเหมาะกับสินค้าประเภทอาหาร หรืออาหารเสริมเป็นพิเศษ แต่จะเป็นเสื้อผ้า เทคโนโลยี หรืออสังหาฯ ก็ได้ เพราะถ้าเป็นสายเนิร์ด ไม่ว่าจะสินค้าแบบไหน ก็ย่อมมีเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจให้หยิบมาเล่าได้ทั้งนั้น และถ้าสิ่งที่คุณเล่า ข้อมูลที่คุณรู้ หรือวิธีคิดในการพัฒนาแบรนด์ของคุณมันโดนใจลูกค้า ยังไงก็มีคนซื้อแน่นอน
ข้อจำกัดเดียวที่มี อาจจะเป็นการที่แคปชั่นสายนี้ ไม่ค่อยเหมาะกับร้านที่รับของมาขาย หรือขายสินค้าที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นเองเท่าไรนัก เพราะเราอาจจะไม่ได้รู้ลึกรู้จริง จนเอามาเล่าให้น่าสนใจไม่ได้นั่นเอง
ครบ 4 สไตล์แล้วเรียบร้อยกับเทรนด์แคปชั่นลงโซเชียลที่จะช่วยให้ลูกค้าติดใจ หวังว่าเพื่อน ๆ จะสามารถเอาไปปรับใช้ เลือกแนวทางที่เหมาะกับร้านของตัวเองกันได้นะครับ!
แต่อย่าลืมว่า ต่อให้แคปชั่นจะปังจนลูกค้าหันมาสนใจหลายร้อยหลายพันคน แต่แคปชั่นก็ไม่ใช่ทุกสิ่ง ถ้าแคปชั่นบนโซเชียลดี แต่ร้านเรายังจัดการปัจจัยอื่นได้ไม่ดีพอ ยังมีการตอบแชทช้า แอดมินพูดจาไม่ดี หรือสินค้าคุณภาพไม่ถึงมาตรฐาน ส่งของแล้วสินค้าเสียหายบ่อย ปัญหาเหล่านี้ ก็ย่อมทำให้ลูกค้าหนีเราไปได้เช่นกัน
ทางที่ดีที่สุด คือการออกแบบให้ลูกค้าได้พบเจอประสบการณ์ดี ๆ จากร้านของเราแบบครบถ้วนตั้งแต่ต้นจบจบ ถ้าทำได้แบบนั้นแล้ว ก็รับรองได้เลยว่าคุณจะได้ลูกค้าประจำเพิ่มแน่นอน! และถ้าอยากรู้วิธีสร้างโมเดลธุรกิจให้ร้านค้ามีความยั่งยืนมากขึ้น ก็คลิกตรงนี้เลย!
ส่วนใครที่ลองใช้เทคนิคแคปชันนี้แล้วยอดขายปังจริง ลูกค้าเข้าไม่หยุด จนเริ่มเช็กสลิปเองไม่ไหว ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ เช็คสลิป แชทบอทตรวจสลิปปลอมอย่างเราได้เลย! ส่งปุ๊บ ตรวจปั้บ ไม่พลาดลิปปลอมสักตัวแน่นอน เริ่มเลย!